วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติยุวกาชาดไทย


ยุวกาชาด ประวัติยุวกาชาด ประวัติยุวกาชาดไทย


 จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต





 กิจการยุวกาชาดไทย ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม
2465 โดย จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการ สภากาชาดสยาม มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังเยาวชนให้มีอุดมคติในศานติสุข มีความรู้ความชำนาญ  ในการรักษาอนามัยของตนเองและส่งเสริมอนามัยของผู้อื่น รู้จักบำเพ็ญตนให้ เป็นประโยชน์ และรู้จักสร้างสัมพันธภาพอันดีต่อผู้อื่น

   
     เมื่อแรกก่อตั้งนั้น   กิจการนี้เรียกว่า “อนุสภากาชาดสยาม”  รับเด็กชาย - หญิง อายุระหว่าง
7 - 18 ปี เข้าเป็นสมาชิก และโดยที่กิจการนี้มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับการศึกษาของเยาวชนอย่างใกล้ชิด ดังนั้น สภากาชาดสยามจึงได้
ฝากการดำเนินงานนี้ไว้กับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งต่อมา ในปี พ.ศ.2496 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ”อนุกาชาด” ภายหลังได้พิจารณาเห็นว่า กิจการนี้ น่าจะขยายไปจนถึงเยาวชนในระดับอุดมศึกษามีอายุระหว่าง  7 - 25  ปี จึงได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น ”ยุวกาชาด”ตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 จนถึงทุกวันนี้

     ปัจจุบันกิจการยุวกาชาด ดำเนินงานโดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย
และสำนักการลูกเสือยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มุ่งเน้นอบรมให้แก่เยาวชน อายุ 7 – 25 ปี ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาสังกัดต่างๆ  รวมถึงเยาวชนกลุ่มพิเศษ ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ  อาทิ  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการ ศึกษาตามอัธยาศัย  กรมราชทัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังและเผยแพร่ให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจใน
หลักการและอุดมการณ์ของกาชาดและยุวกาชาด รู้จักการบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม
     ยุวกาชาด มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมเยาวชนชายและหญิง ดังนี้
       1. มีอุดมคติในศานติสุข มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
       2. มีความรู้ ความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเองและของผู้อื่น ตลอดจนการพัฒนา
           ตนเองทางร่างกาย จิตใจ คุณธรรม และธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ
       3. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์กาชาด มีคุณธรรม จริยธรรม
           และมีจิตใจ เมตตา กรุณาต่อเพื่อมนุษย์
       4. บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นชุมชนสังคมและประเทศชาติ
       5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวล้อม
       6. มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลทั่วไป


คติทรรศน์ :: 
ยุวกาชาด ดี เก่ง รอบรู้ สุขภาพดี 

วิสัยทัศน์ ::        
เป็น ผู้นำในการพัฒนาเยาวชนทั้งในระบบและนอกระบบ รวมทั้งเยาวชนกลุ่มพิเศษ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์ของกาชาด เพื่อให้เป็นคนที่มีคุณภาพและคุณธรรม ช่วยสร้างสรรค์สังคมในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พันธกิจ ::
ปลูก ฝังและเผยแพร่ให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์ของกาชาดในด้านมนุษยธรรม การดูแลสุขภาพอนามัย การบริการอาสาสมัคร และการส่งเสริมการมีสัมพันธภาพที่ดี มีศรัทธาต่อกาชาด และเข้าร่วมกิจกรรมกาชาดได้อย่างต่อเนื่อง
จุดมุ่งหมาย :: ด้วย ความที่สภากาชาดไทย เป็นสมาชิกของสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ การดำเนินกิจการด้านยุวกาชาดจึงยึดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานตามแนวทางของ สหพันธ์สภากาชาดฯ ซึ่งถือปฎิบัติเหมือนกันทุกประเทศ 4 ข้อ คือ เพื่อฝึกอบรมให้สมาชิก
มีอุดมคติในศานติสุข (Education for Peace)
มีความรู้ความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเองและของผู้อื่น (Good Health)
รู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น (Good Service)
มีสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลทั่วไป (International Friendship)


จากวัตถุประสงค์สากลดังกล่าว สภากาชาดไทย ได้นำมาดำเนินการเผยแพร่กาชาด
สู่เยาวชน 4  ประการ
 คือ
1. เผยแพร่หลักการกาชาดและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
2. ฝึกฝนทักษะการป้องกันชีวิตและสุขภาพ ได้แก่
- การปฐมพยาบาล
- การสร้างเสริมสุขภาพทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม
- ความรู้เพื่อชีวิต
                                 ฯลฯ
3. การบริการชุมชน การบำเพ็ญประโยชน์  ได้แก่
- การทำประโยชน์ต่อสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ในชุมชนนั้นๆ
- การทำประโยชน์ต่อบุคคล ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ  กลุ่มเด็กกำพร้า กลุ่มผู้พิการ
                                  ฯลฯ
4. สร้างสัมพันธภาพในหมู่เยาวชนและประชาชน โดยมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
- การจัดงานชุมนุมยุวกาชาดกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก
- โครงการแลกเปลี่ยนผู้แทนยุวกาชาดกับประเทศต่างๆ
                                   
ที่มา http://www.zoneza.com/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-view2338.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น