วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติยุวกาชาดไทย


ยุวกาชาด ประวัติยุวกาชาด ประวัติยุวกาชาดไทย


 จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต





 กิจการยุวกาชาดไทย ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม
2465 โดย จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการ สภากาชาดสยาม มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังเยาวชนให้มีอุดมคติในศานติสุข มีความรู้ความชำนาญ  ในการรักษาอนามัยของตนเองและส่งเสริมอนามัยของผู้อื่น รู้จักบำเพ็ญตนให้ เป็นประโยชน์ และรู้จักสร้างสัมพันธภาพอันดีต่อผู้อื่น

   
     เมื่อแรกก่อตั้งนั้น   กิจการนี้เรียกว่า “อนุสภากาชาดสยาม”  รับเด็กชาย - หญิง อายุระหว่าง
7 - 18 ปี เข้าเป็นสมาชิก และโดยที่กิจการนี้มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับการศึกษาของเยาวชนอย่างใกล้ชิด ดังนั้น สภากาชาดสยามจึงได้
ฝากการดำเนินงานนี้ไว้กับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งต่อมา ในปี พ.ศ.2496 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ”อนุกาชาด” ภายหลังได้พิจารณาเห็นว่า กิจการนี้ น่าจะขยายไปจนถึงเยาวชนในระดับอุดมศึกษามีอายุระหว่าง  7 - 25  ปี จึงได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น ”ยุวกาชาด”ตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 จนถึงทุกวันนี้

     ปัจจุบันกิจการยุวกาชาด ดำเนินงานโดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย
และสำนักการลูกเสือยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มุ่งเน้นอบรมให้แก่เยาวชน อายุ 7 – 25 ปี ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาสังกัดต่างๆ  รวมถึงเยาวชนกลุ่มพิเศษ ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ  อาทิ  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการ ศึกษาตามอัธยาศัย  กรมราชทัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังและเผยแพร่ให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจใน
หลักการและอุดมการณ์ของกาชาดและยุวกาชาด รู้จักการบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม
     ยุวกาชาด มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมเยาวชนชายและหญิง ดังนี้
       1. มีอุดมคติในศานติสุข มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
       2. มีความรู้ ความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเองและของผู้อื่น ตลอดจนการพัฒนา
           ตนเองทางร่างกาย จิตใจ คุณธรรม และธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ
       3. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์กาชาด มีคุณธรรม จริยธรรม
           และมีจิตใจ เมตตา กรุณาต่อเพื่อมนุษย์
       4. บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นชุมชนสังคมและประเทศชาติ
       5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวล้อม
       6. มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลทั่วไป


คติทรรศน์ :: 
ยุวกาชาด ดี เก่ง รอบรู้ สุขภาพดี 

วิสัยทัศน์ ::        
เป็น ผู้นำในการพัฒนาเยาวชนทั้งในระบบและนอกระบบ รวมทั้งเยาวชนกลุ่มพิเศษ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์ของกาชาด เพื่อให้เป็นคนที่มีคุณภาพและคุณธรรม ช่วยสร้างสรรค์สังคมในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พันธกิจ ::
ปลูก ฝังและเผยแพร่ให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์ของกาชาดในด้านมนุษยธรรม การดูแลสุขภาพอนามัย การบริการอาสาสมัคร และการส่งเสริมการมีสัมพันธภาพที่ดี มีศรัทธาต่อกาชาด และเข้าร่วมกิจกรรมกาชาดได้อย่างต่อเนื่อง
จุดมุ่งหมาย :: ด้วย ความที่สภากาชาดไทย เป็นสมาชิกของสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ การดำเนินกิจการด้านยุวกาชาดจึงยึดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานตามแนวทางของ สหพันธ์สภากาชาดฯ ซึ่งถือปฎิบัติเหมือนกันทุกประเทศ 4 ข้อ คือ เพื่อฝึกอบรมให้สมาชิก
มีอุดมคติในศานติสุข (Education for Peace)
มีความรู้ความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเองและของผู้อื่น (Good Health)
รู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น (Good Service)
มีสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลทั่วไป (International Friendship)


จากวัตถุประสงค์สากลดังกล่าว สภากาชาดไทย ได้นำมาดำเนินการเผยแพร่กาชาด
สู่เยาวชน 4  ประการ
 คือ
1. เผยแพร่หลักการกาชาดและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
2. ฝึกฝนทักษะการป้องกันชีวิตและสุขภาพ ได้แก่
- การปฐมพยาบาล
- การสร้างเสริมสุขภาพทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม
- ความรู้เพื่อชีวิต
                                 ฯลฯ
3. การบริการชุมชน การบำเพ็ญประโยชน์  ได้แก่
- การทำประโยชน์ต่อสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ในชุมชนนั้นๆ
- การทำประโยชน์ต่อบุคคล ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ  กลุ่มเด็กกำพร้า กลุ่มผู้พิการ
                                  ฯลฯ
4. สร้างสัมพันธภาพในหมู่เยาวชนและประชาชน โดยมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
- การจัดงานชุมนุมยุวกาชาดกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก
- โครงการแลกเปลี่ยนผู้แทนยุวกาชาดกับประเทศต่างๆ
                                   
ที่มา http://www.zoneza.com/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-view2338.htm

ประวัติยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


ประวัติยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


คลิกชมภาพต่อไป

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย? 

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเป็นผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่ออันดับ1ของพรรคเพื่อไทย สมใจนายห้างดูไบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายสุดที่เลิฟเป็นอย่างยิ่ง ส่วนจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย หรือไม่นั้นเป็นเรื่องของอนาคต

โดยประวัติ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั้น เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ชื่อเล่นปู ก่อนหน้านี้หลายคนทราบเพียงว่าเธอคือ ผู้สนับสนุนทางด้านการเงินของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเซท จำกัด โดยการรับช่วงต่อสืบทอดกิจการของครอบครัว หลังจากสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัวก้าวเข้าสู่สนามการเมือง เป็นน้องสาวคนสุดท้องของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ด้านชีวิตครอบครัวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 9 คน ของ นายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร ยิ่งลักษณ์ สมรสโดยไม่ได้จดทะเบียนกับ นายอนุสรณ์ อมรฉัตร อดีตผู้บริหารในเครือบริษัท ซีพี และกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ พี่สาวคนที่ 5 ในตระกูลชินวัตรเมื่อ พ.ศ. 2538 โดย มีบุตรชายนอกสมรสหนึ่งคน ชื่อ ด.ช. ศุภเสกข์ หรือ น้องไปป์ 

ส่วนเรื่องการศึกษา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จบการศึกษาปริญญาตรี จาก คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2531 และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตท สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2533

หลังสำเร็จการศึกษาแล้ว การทำงานได้เข้าทำงานที่ บริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด และได้รับการเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว จนได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการผู้อำนวยการ ของเอไอเอส เมื่อ พ.ศ. 2545

แต่หลังจาก ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ให้แก่ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของรัฐบาลสิงคโปร์ ยิ่งลักษณ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส โดยยังดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเซท จำกัด เพียงตำแหน่งเดียว โดยก่อนหน้านั้นเธอได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ในมือทั้งหมด เพื่อทำกำไรออกไปก่อน ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2548 ปัจจุบัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่ง กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิไทยคม

ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้ ด้วยฐานะน้องสาวแท้ๆ ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือว่ามีภาษีเหนือกว่าคนอื่นอยู่หลายขุม และพรรคเพื่อไทยก็คงจะชนะเลือกตั้งอย่างที่หลายๆ คนคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แต่พรรคเพื่อไทยจะได้เป็นรัฐบาล และประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ที่มีชื่อว่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือไม่เป็นเรื่องที่คาดเดายากยิ่ง อย่าลืมว่าเลือกตั้งครั้งที่แล้วพรรคเพื่อไทยก็กำชัยชนะ แต่ไม่สามารถชิงธงจัดตั้งรัฐบาลได้!!!

ประวัติยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ชื่อ-นามสกุล : ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

วันเดือนปีเกิด  : 21 มิถุนายน 2510

ชื่อเล่น : ปู

บิดา : นายเลิศ ชินวัตร (ถึงแก่กรรม 23 ต.ค.2540 ศาลา 7 วัดมกุฎกษัตริยาราม)

มารดา : นางยินดี ระมิงค์วงศ์ (ถึงแก่กรรม)

คู่สมรส : นายอนุสรณ์ อมรฉัตร

บุตร : ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร (ไปป์)

ถิ่นกำเนิด : จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติครอบครัว :

เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง 10 คน ของนายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร (เสียชีวิตทั้งคู่)

ชื่อพี่น้อง

1. นางเยาวลักษณ์ ชินวัตร (เสียชีวิต) สมรสกับพ.อ.(พิเศษ) ศุภฤกษ์ คล่องคำนวณการ (หย่า) มีธิดา 2 คน
น.ส.ปณิตา คล่องคำนวณการ
น.ส.นัทชฤทัย คล่องคำนวณการ

2. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมรสกับ คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ (หย่า14 พ.ย.2551 ใช้นามสกุลเดิม ดามาพงศ์ 8 ธ.ค.2551) (บุตรของ พล.ต.ท.เสมอ ดามาพงศ์) มีบุตร-ธิดา 3 คน
นายพานทองแท้ ชินวัตร (โอ๊ค)
น.ส.พินทองทา ชินวัตร (เอม)
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (อิ้ง)

3. นางเยาวเรศ ชินวัตร สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์ (หย่า) มีบุตร-ธิดา 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน
น.ส.ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ (แซน)
นายรัตนะ วงศ์นภาจันทร์(ซัน)
นายธนวัต วงศ์นภาจันทร์(ซูน)

4. นางปิยนุช ลิ้มพัฒนาชาติ

5. นายอุดร ชินวัตร (เสียชีวิต)

6. นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (แดง) สมรสกับ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีบุตร-ธิดา 3 คน
นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ (เชน)
น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์(เชียร์)
น.ส.ชยาภา วงศ์สวัสดิ์ (เชอรี่)

7. นายพายัพ ชินวัตร สมรสกับพอฤทัย มีบุตรชาย 4 คน
นายฤภพ ชินวัตร (ไนท์)
นายพิรุณ ชินวัตร (นิกกี้)
นายพอพงษ์ ชินวัตร(ต๋อง)
นายพีรพัฒน์ ชินวัตร

8. นางมณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล (แป๋ว) เดิมชื่อ เยาวมาลย์ สมรสกับ นพ.สมชัย โกวิทเจริญกุล มีธิดา 2 คน

9. นายทัศนีย์ ชินวัตร (แป๋ม) เสียชีวิต

10. นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ปู) สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร (ป๊อป) ปี 2538 มีบุตรชาย 1 คน
ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร (ไปป์) เกิดเมื่อปี 2545


ประวัติการศึกษา :

2533 : ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตท สหรัฐอเมริกา
2531 : ปริญญาตรี จาก คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ :

- กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิไทยคม
- กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเซท
2545 : กรรมการผู้อำนวยการ ของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส)

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3

รู้จัก ประเทศอาเซียน ก่อนก้าวสู่ ประชาคมอาเซียน 2558


       รู้จัก ประเทศอาเซียน ก่อนก้าวสู่ ประชาคมอาเซียน 2558


ประเทศอาเซียน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก flagspot.net , สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

          ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

          แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน 

          โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

 รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน 


บรูไน


1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 

          ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลของประเทศบรูไนได้ที่นี่ 


กัมพูชา

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

          เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

           อ่านข้อมูลประเทศกัมพูชา ได้ที่นี่ 


อินโดนีเซีย


3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

          เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศอินโดนีเซีย ได้ที่นี่ 


ลาว

4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)

          เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 

           อ่านข้อมูลประเทศลาว ได้ที่นี่ 


มาเลเซีย


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศมาเลเซีย ได้ที่นี่ 

ฟิลิปปินส์


6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

          เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศฟิลิปปินส์ ได้ที่นี่ 


สิงคโปร์


7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)

           อ่านข้อมูลประเทศสิงคโปร์ ได้ที่นี่ 


ประเทศไทย


8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ

           อ่านข้อมูลประเทศไทย ได้ที่นี่ 


เวียดนาม

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

          เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 

           อ่านข้อมูลประเทศเวียดนาม ได้ที่นี่ 


ประเทศพม่า


10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ 

           อ่านข้อมูลประเทศพม่า ได้ที่นี่ 



ประเทศอาเซียน

          ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ  "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

          โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้

           1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

           2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

                มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

                ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

                 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

                ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
    
          กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)


ความร่วมมือ


           3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน


ที่มา http://203.172.142.8/en/index.php?option=com_content&view=article&id=4&Itemid=21


ประวัตินักวอลเล่ย์บอล หญิงไทย


                                               ประวัตินักวอลเล่ย์บอล หญิงไทย


ทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เป็นทีมวอลเลย์บอลหญิงของ ประเทศไทยได้มีการพัฒนาฝีมือการเล่น จนสามารถเข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลกได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในปีค.ศ. 1998 และ ค.ศ. 2002 ล่าสุดในปี ค.ศ. 2010 ก็สามารถเข้ารอบสุดท้ายได้ และได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันเวิลด์กรังปรีย์ในส่วนโคว์ต้าทวีปเอเชีย ได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 เป็นต้นมาถึง ค.ศ. 2010 ยกเว้นปี ค.ศ. 2007 (ถอนทีมไปแข่งกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่ไทยเป็นเจ้าภาพ)
ทีมวอลเลย์บอลหญิงของไทยได้พัฒนาการเล่นมาตลอดได้อันดับ 3 การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย 2 ครั้งและสร้างประวัติศาสตร์เมื่อสามารถเอาชนะทีมจีน 3 - 1 เซตเป็นแชมป์ทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชียในปี ค.ศ. 2009 ที่สนามกวนเงือ ประเทศเวียดนาม ทำให้ได้โควตาทวีปเอเชียไปแข่งเวิลด์แกรนแชมป์เปี้ยนคัพในปี ค.ศ. 2009
ปัจจุบันผู้ฝึกสอนของวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย คือ เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร

โอลิมปิกเกมส์

[แก้]เวิลด์คัพ

  • 2007 : อันดับ 10

[แก้]เวิลด์กรังด์ปรีซ์

  • 2002 : อันดับ 8
  • 2003 : อันดับ 10
  • 2004 : อันดับ 10
  • 2005 : อันดับ 12
  • 2006 : อันดับ 10
  • 2008 : อันดับ 11
  • 2009 : อันดับ 8
  • 2010 : อันดับ 10
  • 2011 : อันดับ 6
  • 2012 : อันดับ 4

[แก้]FIVB World Grand Champions Cup

  • 2009 : อันดับ 6

[แก้]วอลเลย์บอลชิงแชมป์โลก

  • 1998 : อันดับ 15
  • 2002 : อันดับ 20
  • 2010 : อันดับ 13

[แก้]วอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชีย

  • 1987 : อันดับ 5
  • 1989 : อันดับ 6
  • 1991 : อันดับ 7
  • 1993 : อันดับ 7
  • 1995 : อันดับ 5
  • 1997 : อันดับ 5
  • 1999 : อันดับ 4
  • 2001 : Med 3.png เหรียญทองแดง
  • 2003 : อันดับ 4
  • 2005 : อันดับ 6
  • 2007 : Med 3.png เหรียญทองแดง
  • 2009 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 2011 : อันดับ 4

[แก้]เอเชียนคัพ

  • 2008 : Med 3.png เหรียญทองแดง
  • 2010 : Med 2.png เหรียญเงิน

[แก้]เอเชียนเกมส์

  • 1998 : อันดับ 4
  • 2002 : อันดับ 5
  • 2006 : อันดับ 4
  • 2010 : อันดับ 5

[แก้]ซีเกมส์

  • 1977 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 1979 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 1981 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 1983 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 1985 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 1987 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 1989 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 1991 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 1993 : Med 2.png เหรียญเงิน
  • 1995 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 1997 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 2001 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 2003 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 2005 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 2007 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 2009 : Med 1.png เหรียญทอง
  • 2011 : Med 1.png เหรียญทอง

[แก้]อันดับโลก

  • 2012 อันดับ 12[1]

[แก้]รายชื่อทีมชาติชุดแชมป์เอเชีย



นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยชุดแชมป์เอเชียปี 2009
หมายเลขชื่อส่วนสูงปีเกิดตำแหน่ง
1วรรณา บัวแก้ว1.72 m1981ตัวรับอิสระ
5ปลื้มจิตร์ ถินขาว1.80 m1983บอลเร็ว
6อรอุมา สิทธิรักษ์1.74 m1986บอลหัวเสาหลัก
8อุทัยวรรณ แก่นสิงห์1.89 m1988บอลเร็ว
10วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ (หัวหน้าทีม)1.74 m1984บอลหลัก
12กมลพร สุขมาก1.74 m1988ตัวเซต
11อำพร หญ้าผา1.80 m1985บอลเร็ว
13นุศรา ต้อมคำ1.69 m1985ตัวเซต
15มลิกา กันทอง1.77 m1987บอลหลัก
17วณิชยา หล่วงทองหลาง1.76 m1990บอลหลัก
18เอ็มอร พานุสิทธิ์1.80 m1988บอลหลัก
19ฐาปไพพรรณ ไชยศรี1.68 m1989บอลหลัก
 ที่มา
http://www.bugaboo.tv/result?keyword=%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87